Last updated: 24 ม.ค. 2566 | 1197 จำนวนผู้เข้าชม |
เรื่องของเงินกองทุนหมู่บ้านที่ผู้ใหญ้บ้านใหม่ ๆ อย่างเราต้องเรียนรู้ระเบียบต่าง ๆ ของกองทุน ที่มีในหมู่บ้าน หากไม่เรียนรู้จะเจอปัญหาที่เราจะทำตัวไม่ถูก บอกได้เลยว่ามีเวลาก็เรียนรู้ไว้ ว่าระเบียบการใช้เงินเป็นอย่างไร เราสามารถนำเงินมาใช้เพื่อพัฒนาสาธารณะประโยชน์อย่างไร อย่าไปฟังคำที่ชาวบ้านอ้างมาพูดสารพัดกับเราฝ่ายเดียว ตรงนี้เราต้องช่างใจหนักแน่นและศึกษาเบื้องต้นด้วยตนเองก่อน
เนื่องจากว่าชาวบ้านส่วนใหญ่แล้ว กู้เงินแล้วไม่อ่านข้อตกลงต่าง ๆ และวันชำระที่ถูกต้อง พอถึงเวลาชำระก็ร้องเรียนให้ผู้ใหญ่บ้านช่วย และผู้ใหญ่บ้านก็ไม่รู้อะไรเลย ก็ไปร่วมฟังคำอธิบายจากผู้ดูแลกองทุนที่เป็นนิติ บุคคล พอผมได้ศึกษาระเบียบต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้านแห่งชาติแล้ว ผู้ดูแลกองทุนได้ดูแลตามระเบียบที่เราไม่สามารถจะโต้แย้งได้เลย ตรงนี้เราในฐานะผู้ใหญ่บ้านถ้าไม่ศึกษาให้ดีเราจะกลายเป็นตัวตลกในทันที
ผู้ใหญ่ใหม่ควรทำอย่างไรกับเงินกองทุนเพื่อหาแนวทางการนำเงินสาธารณะออกมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน ?
เมื่อเราไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุน สมาชิกคือ ผู้ที่สมัครเข้ากองทุน เพื่อเป็นสมาชิกเท่านั้นถึงจะมีสิทธิืมีเสียงในการมีกิจกรรมร่วมกับคณะกรรมการกองทุนได้เท่านั้น ผู้ใหญ่บ้านถ้าไม่ได้เป็นสมาชิกก็จะไปทำกิจกรรมอะไรร่วมไม่ได้ ผมเองก็อีก 1 คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก แต่พอผมได้อ่านระเบียบของเงินกองทุน และข้อมูลของลูกบ้านที่กู้เงินกองทุนแล้ว ผมก็เข้าไปเจรจา ขอเงินส่วนที่เป็นสาธารณะออกมาเป็นก้อนตามเปอร์เซนต์ที่กองทุนจะพิจรณาเท่านั้น และผมก็ไม่ขอยุ่งเกี่ยวหรือมีกิจกรรมใด ๆ กับ เงินกองทุน อีกต่อไป เนื่องจาก เหตุผลต่าง ๆ ที่ผู้ใหญ่บ้านต้องไปศึกษาเอาเอง และแนะนำอย่าไปเป็น ปฎิปักษ์ต่อ คณะกรรมการ ให้เน้นเจรจาและพูดคุย เราจะไม่เสียเปรียบ และอย่าได้คิดที่จะเข้าไปดูแลเงินกองทุนถ้าไม่ศึกษากองทุนของหมู่บ้านตนเองให้ดี
เงิน กขคจ. เป็นเงินที่ไม่มีดอก เป็นเงินแก้ไขความยากจน ผู้ใหญ่บ้านมีสิทธิ์ดูแลโดยตำแหน่ง หรือ เป็นประธานโดยตำแหน่ง เงินตัวนี้แหละที่เราต้องเข้าไปดูแลด้วยตนเองพร้อม จัดตั้งคณะกรรมการตามสัดส่วนที่ระเบียบข้อบังคับของทางอำเภอได้ทำไว้