เสาเอ็นทับหลัง ทับข้าง เหล็กหนวดกุ้ง คืออะไร ?

Last updated: 24 มี.ค. 2564  |  49560 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แบบมาตรฐานงานติดตั้งประตูหน้าต่าง

เสาเอ็นทับหลัง ทับข้าง เหล็กหนวดกุ้ง คืออะไร ? มีหน้าที่อย่างไรในการทำงาน หรือใช้งาน ควรใส่หรือไม่ใส่อย่างไรตรงไหน มีขั้นตอนอย่างไร

เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก กับงานก่ออิฐติดตั้งวงกบประตูหน้าต่าง หรือไม่ว่าจะเป็นงานทำช่องหน้าต่างสำหรับการใส่ประตูอลูมิเนียม เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ช่างที่ขาดความรู้กับเจ้าของบ้านที่ไม่รู้อะไรเลย วันนี้มาทำความเข้าใจกัน เราจะพยายามอธิบายอย่างละเอียด

 

ขออธิบายในรูปนะครับ ถ้าไม่มีประตูหน้าต่างมีแต่ช่องเปิดรอติดตั้งทีหลังก็ใช้มาตรฐานเดียวกัน เพียงแต่เราไม่ใส่ประตู ทับหลังทับข้างก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม เราพบว่าบ้านหลายหลังที่สร้างด้วยผู้รับเหมาหรือช่างที่ไม่ให้ความสำคัญของทับหลังทับข้างโดยส่วนใหญ่แล้วจะเอาอิฐก่อชนด้านข้างประตูไปดื้อ ๆ กับก่อวางบนหลังวงกบประตูหน้าต่างไปเฉย ๆ ยิ่งเป็นบานอลูมิเนียมสำเร็จรูปด้วยแล้ว งานเข้าแน่นอนถ้าไม่มีเอ็นทับหลังทับข้างเนื่องจากนำหนักอิฐลงมาทับหน้าต่างทำให้เปิดหน้าต่างยากหรือไม่ได้เลย

 

จากรูปประตูมาดูหน้าที่ของทับหลังทับข้างกันครับ

  1. ทับข้างมีหน้าที่ยึดไม่ให้วงกบประตูเคลื่อนตัว และรองรับการปิดเปิดเมื่อใช้ในชีวิตประจำวันทำให้เราต้องปิดเปิดประตูอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นแรงกระแทกที่เกิดอาจทำให้ผนังเสียหายได้โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ใส่ทับข้าง เกิดรอยร้าวในพื้นที่ข้างประตู โดยเฉพาะตามเหลี่ยมหรือตามมุม
  2. ทับหลังมีหน้าที่ รับน้ำหนักอิฐที่ก่ออยู่เหนือประตู เพื่อไม่ให้นำหนักอิฐกดทับลงมาใส่ประตู-หน้าต่าง ตรงนี้สำคัญมากในการใช้งานระยะยาว หลายช่างชอบเถียงชอบรั้นโดยเฉพาะบางรายขี้เกียจหล่อเอ็นทับหลัง แล้วอ้างว่าใส่เหล็กเส้นไว้แล้ว ตรงนี้ผิดอย่างร้ายแรงในการทำงาน
  3. ทับข้างกันล้ม ช่วยลดระยะผนังที่มีเสาอยู่ห่างกันเช่น เสาห่าง 4เมตรเราต้องใส่เสาเอ็นเพื่อความแข็งแรงช่วยรับแรงกระทำด้านข้างของผนัง แต่แรงผลัก แรงพิง แรงลม

เหล็กหนวดกุ้งคืออะไร ? มีหน้าที่อย่างไร

เหล็กหนวดกุ้งส่วนมากใช้แค่เหล็ก RB 6 มม.ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว ถ้าให้ผมแนะนำผมแนะนำว่าให้ใช้เหล็ก RB 6มม. ชนิดไม่เต็มมาตรฐาน ถามว่าทำไมแนะนำแบบนี้ เหตุผลก็คือดัดง่าย สามารถเจาะใส่เสาทิ้งไว้ก่อนได้เลย เพราะหากไปใช้เหล็กเต็มมาตรฐานแล้ว การดัดงอนั้นยากมาก ทำให้มีอุปสรรคต่อการก่ออิฐ 

หน้าที่ของเหล็กหนวดกุ้งคือ ยึดผนังไว้กับเสาเพื่อกันล้ม กันเคลื่นตัว ไม่ให้ดิ่น เพราะฉะนั้นระยะที่ใส่ สามารถใส่ได้ตั้งแต่ 30-50 เซนติเมตร หรือพิจรณาจากวัสดุที่นำมาก่อผนัง เช่น อิฐบล็อก ที่มีขนาดความสูงของอิฐเมื่อก่อพร้อมชั้นมอต้า ( ปูนก่อ ) 20 เซนติเมตรเราควรวางห่าง 40 เซนติเมตร 60 เซนติเมตรเพื่อลงตัวกับชั้นปูนมอต้าง่ายต่อการก่ออิฐไม่ต้องดัดงอเหล็กหนวดกุ้ง

ความคิดเห็นจากช่างที่ขาดความรู้เรื่องนี้

 - ไม่จำเป็นต้องใส่ผมทำมาหลายหลังแล้ว

 - บ้านใคร ๆ ที่ทำมาเขาก็ไม่ใส่กันไม่เห็นเป็นไร

 - ใส่เหล็กเส้นไว้แล้วยังไงก็อยู่

 - ตอนก่ออิฐบนวางกบผมเอาไม้ค้ำไว้แล้วทิ้งไว้สัก 7 วันเดียวก็แข็งไม่ทรุดลงมา

เจอช่างแบบนี้อันตรายครับ โดยเฉพาะช่างที่เหมาบ้านราคาถูก ๆ แต่ข้ามขั้นตอนเอ็นทับหลังทับข้างนี้หมด โชคร้ายจริง ๆ ที่ผมเจอมาคือเจ้าของบ้านเป็นคนพูดเองว่าไม่เป็นไรนี่แหละ คือตรงนี้ไม่รู้ หรือไม่มีประสบการณ์ด้านงานก่อสร้างมาก็มักคิดว่าหลังก่อน ๆ ไม่เห็นเป็นไร เราอาจไปเจอช่างที่ดีใส่ไว้ก็ได้แต่เราไม่รู้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้